วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่: 7

บันทึกการเรียนครั้งที่: 7
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Mathematic Experiences Management for Early Childhood)
อาจารย์ผู้สอน: ด. ร. จินตนา สุขสำราญ (อาจารย์ประจำหลักสูตร)
ประจำวันที่: พุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เวลา 08.3012.30

กลุ่มเรียน 101


            เนื่องจากวันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์นี้ตรงกับสัปดาห์นิทรรศการที่จัดแสดงโดย นักศึกษาชั้นปีที่ 5 สาขาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม อาจารย์จึงให้นักศึกษาทุกคนเข้าร่วมชมนิทรรศการณ์ และเข้าเรียนตามปกติ

ความรู้ที่ได้รับ

1. การเรียนแบบ Project Approach
             กิจกรรมในห้องเรียนมีการเรียนรู้หลากหลายอย่างเกิดขึ้นไปพร้อมๆ กัน เด็กสามารถเลือกตามความสนใจของเด็กเป็นส่วนใหญ่ แต่ครูจะชักชวนให้เด็กได้ฝึกทักษะจากสื่อหลากหลายและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ตามความพร้อมของเด็กแต่ละคน ทั้งเป็น กลุ่มใหญ่ กลุ่มเล็ก และรายบุคคล สลับกันไป โดยคำนึงถึงความแตกต่างของเด็กแต่ละคนในทุกด้าน
Project Approach
              เป็นวิธีการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพให้แก่เด็กเพื่อเตรียมพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21 และ ศตวรรษต่อๆไป Project Approach ช่วยเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆรอบตัวเด็กอย่างลุ่มลึกด้วยตนเอง สอนให้เด็กรู้วิธีการเรียนรู้ (Learning to Learn) ทำให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองต่อไปได้ตลอดชีวิต และยังสอนวิธีการคิดรูปแบบต่างๆ (Learning to Think) ให้แก่เด็กอีกด้วย ทำให้เด็กสามารถพิจารณาข้อมูลอย่างมีเหตุมีผล นำข้อมูลมาเปรียบเทียบวิเคราะห์ สังเคราะห์ พิจารณาถึงความถูกต้องและประโยชน์ได้ตามวัย การเรียนรู้แบบ Project Approach บูรณาการวิชาต่างๆให้เด็กเรียนรู้ได้อย่างมีความหมายและเป็นที่สนใจของเด็ก ไม่ว่าจะเป็น คณิตศาสตร์ ภาษา วิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ สังคมศึกษา สุขศึกษา หรือประวัติศาสตร์ การเรียนรู้แบบ Project Approach เป็นที่ยอมรับกันแพร่หลายในวงการการศึกษาในหลายประเทศทั่วโลกว่าเป็นวิธีการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการทำงานของสมอง (Brain Based Learning) อย่างมาก

         Project Approach เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่เปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้สิ่งต่างๆที่เด็กสนใจในโลกแห่งความเป็นจริงและพบเห็นในชีวิตประจำวัน ซึ่งเด็กๆสามารถศึกษาได้โดยง่าย ทั้งที่โรงเรียน ที่บ้าน และในชุมชน การเรียนรู้แบบ Project Approach นี้ ช่วยให้เด็กมีทักษะการเรียนรู้อย่างลุ่มลึกในสิ่งที่เด็กต้องการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง อันเป็นรากฐานที่แข็งแกร่งของการเรียนรู้ตลอดชีวิตของเด็ก นอกจากนั้น Project Approach ยังตั้งอยู่บนรากฐานของทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligence) และช่วยพัฒนาจิต 5 ประการ (Five Minds of the Future) ด้วย การดำเนินการเรียนรู้แบบ Project Approach มีการดำเนินการคล้ายคลึงกับการเรียนรู้แบบ Constructionism ด้วยแต่สามารถนำมาใช้กับเด็กปฐมวัยหรือเด็กอนุบาล ได้อย่างมีประสิทธิภ
วิธีการเรียนรู้แบบ Project Approach
             เด็กวัยอนุบาลชอบที่จะสำรวจสืบค้น ! เด็กๆสนุกสนานกับการได้เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รอบตัว Project Approach ทำให้เด็กได้เป็นผู้ลงมือทำการศึกษาสิ่งต่างๆใกล้ตัวเด็กที่เด็กๆสนใจ และมีคุณค่าที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งนั้น Projects เปรียบเสมือนเรื่องราวที่สนุกตื่นเต้น

            Project Approach คือ การเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลก เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนามาจากการจัดการเรียนรู้แบบ Regio Emilia ในประเทศอิตาลี ด้วยวิธีการเรียนรู้แบบนี้ เด็กจะเรียนรู้ลุ่มลึกในเรื่องที่เด็กสนใจ อยากรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งนั้น เป็นการเรียนรู้ที่เด็กจะเป็นนักวิจัยตัวน้อย วิธีการเรียนรู้แบบ Project Approach จะช่วยให้ครูบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมศึกษา หรือสุขศึกษา เข้าไปให้เด็กได้สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นวิธีการที่เด็กจะเรียนรู้ว่าจะสามารถหาคำตอบหรือข้อมูลของสิ่งต่างๆ รอบตัวได้อย่างไร และแหล่งข้อมูลหรือแหล่งเรียนรู้มีที่ใดบ้าง เด็กจะได้รับประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้และแบ่งปันความรู้ของตนให้ผู้อื่นรับทราบด้วยวิธีที่หลากหลาย การเรียนรู้แบบ Project Approach มี 3 ระยะ ดังนี้
       Project Approach ระยะที่1 – เริ่มต้น
                  เด็กๆเลือกว่าจะศึกษาเรื่องอะไร โดยครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ
เด็กๆอภิปรายว่า มีความรู้เดิมอะไร เกี่ยวกับเรื่องที่เลือกแล้วบ้าง ครูช่วยให้เด็กๆบันทึกความคิดของเด็กๆ ด้วยวิธีต่างๆ เช่น วาด ปั้น จำลอง ฯลฯ
เด็กๆบอกข้อสงสัยที่เด็กๆมีเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กๆจะเรียนรู้ และครูช่วยให้เด็กๆสรุปตั้งคำถามที่เด็กๆต้องการ หาคำตอบในระหว่างการสำรวจสืบค้นครั้งนี้ และบันทึกคำถามเหล่านั้น
เด็กๆพูดคุยเกี่ยวกับว่าคำตอบที่เด็กๆจะสำรวจสืบค้นได้นั้น น่าจะเป็นอะไร อย่างไร ครูช่วยเด็กๆบันทึกความคาดคะเนของเด็กๆไว้ เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลในภายหลัง
            Project Approach ระยะที่2 – การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้
ครูช่วยเด็กๆวางแผนไปสถานที่ต่างๆ ที่เด็กๆสามารถสำรวจ สืบค้นได้ รวมถึงการจัดหาวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่เด็กๆสนใจเรียนรู้ ที่จะสามารถตอบคำถามของเด็กๆได้ มาให้ความรู้กับเด็กๆ
เด็กๆใช้หนังสือและคอมพิวเตอร์ในการสืบค้นข้อมูล โดยมีครูเป็นผู้ช่วยเหลือ
ในระหว่างกิจกรรมในวงกลมที่เด็กๆสามารถประชุมร่วมกัน และนำเสนอรายงานสิ่งที่เด็กๆค้นพบในการทำกิจกรรมต่างๆเป็นระยะ ครูส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กๆถามคำถามและให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กๆแต่ละคนได้ค้นพบคำตอบหรือเรียนรู้ด้วย
เด็กๆวาดภาพ ถ่ายภาพ เขียนคำและป้ายต่างๆ สร้างกราฟและหรือแผนภูมิสิ่งที่เด็กๆวัดและนับ แล้วเด็กๆก็สร้างจำลองสิ่งที่เด็กๆสนใจเรียนรู้กัน เมื่อเด็กๆเรียนรู้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เด็กๆสามารถพิจารณาทบทวนและเพิ่มเติมหรือทำจำลองใหม่ให้ดีขึ้นกว่าเดิมไปได้เรื่อยๆด้วย
            Project Approach ระยะที่3 – การสรุป Project
เด็กๆอภิปรายกันถึงหลักฐานต่างๆที่เด็กๆได้สืบและค้นพบที่ช่วยให้เด็กๆตอบคำถามที่เด็กๆตั้งไว้ได้ และเด็กๆจะได้เปรียบเทียบสิ่งที่เด็กๆเรียนรู้กับความรู้เดิมของเด็กๆว่าตรงกันหรือไม่ รวมถึงเปรียบเทียบกับการคาดคะเนของเด็กๆที่ทำไว้ตั้งแต่ระยะแรกด้วย
เด็กๆช่วยกันวางแผนจัดแสดงให้ผู้ปกครองและเพื่อนๆ และบุคคลอื่นๆได้เห็น วิธีการเรียนรู้ กิจกรรม ผลงาน และสิ่งที่เด็กๆค้นพบเรียนรู้
เด็กๆลงมือจัดแสดงเพื่อแบ่งปันความรู้และเรื่องราวเกี่ยวกับ “ Project Approach ” ของเด็กๆ ครูจะได้ช่วยสนับสนุนส่งเสริมนักสืบรุ่นจิ๋วเหล่านี้วางแผน และดำเนินการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กๆทำ และค้นพบกันอย่างสนุกสนาน กระตือรือร้นและภาคภูมิใจ

     หลักการ STEM
คือ S = วิทยาศาสตร์ ( กระบวนการทำ ดังนี้ สำรวจปัญหา ตั้งสมมติฐาน ทดลอง พิสูจน์ )
      T = เทคโนโลยี ( การใช้เทคโนโลยีต่างๆเข้ามีส่วนในการปฏิบัติกิจกรรม )
      E = การออกแบบ ( การวางแผน การออกแบบขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรม )
      M = คณิตศาสตร์ ( การบูรณาการทักษะทางคณิตศาสตร์กับการปฏิบัติกิจกรรม
              เช่น การตวงส่วนผสม
                - การเรียนแบบ โปรเจค นั้นต้องใช้เวลาในการเรียนเป็นแบบระยะยาว เนื่องจากเด็กจะได้ศึกษาเรื่องราวที่ต้องการศึกษาจนถ่องแท้ ต้องศึกษาหาคำตอบ ตลอดจนลงมือปฏิบัติเพื่อให้ได้คำตอบ โดยมีครูเป็นผู้แนะนำ และ คอยอำนวยความสะดวกให้
2. สื่อนวัตกรรมการศึกษา
- สื่อมอนเตสเซอรี่
มีดังนี้ คือ 1) ภาษา : เริ่มจากการให้เด็กใช้การสัมผัส
                2) ชีวิตประจำวัน : ฝึกทักษะต่างๆที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การเรียงลำดับ
                3) คณิตศาสตร์ : เน้นทักษะการแก้ปัญหาและต้องแก้จนสำเร็จจึงจะเปลี่ยนสื่อได้
- สื่อการสอน : มีหลากหลายรูปแบบแล้วแต่หน่วยการเรียนรู้ที่จัดให้กับเด็ก ครูต้องดูความเหมาะสมในด้านต่างๆทั้ง วัย พัฒนาการ และ ความปลอดภัย
- สื่อที่มีคุณภาพ คือ ต้อวผ่านการเล่นของเด็ก
3. แผนการจัดการเรียนรู้
- แผนการสอนของแต่ละโรงเรียนมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสังกัดของโรงเรียนนั้นๆ เช่น โรงเรียนเอกชน โรงเรียนสังกัดรัฐบาล โรงเรียนสังกัด สพฐ.
- ในการจัดการเรียนรู้ 1 วัน ประกอบด้วย 6 กิจกรรมหลัก แต่ละกิจกรรมสามารถยืดหยุ่นเวลาได้ และต้องมีการบูรณาการทักษะต่างๆสอดแทรกลงไปมนทั้ง 6 กิจกรรม

ประเมินตนเอง
        ตั้งใจเรียน มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระมากยิ่งขึ้น มีเนื้อหาบางเนื้อหาที่ไม่ค่อยเข้าใจ
 ประเมินเพื่อน
        ตั้งใจเรียน ให้ความมือในการเรียน ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย
 ประเมินอาจารย์       
        สอนได้เข้าใจง่าย จังหวะการพูดไม่ช้า ไม่เร็วจนเกินไป แต่เนื้อหาก็สอนเร็วเกินไป มีน้ำเสียงที่พอดี ร้องเพลงได้ไพเราะ ไม่ผิดไม่เพี้ยน ใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษามีความกระตือรือล้น 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น