วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่: 4

บันทึกการเรียนครั้งที่: 4
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Mathematic Experiences Management for Early Childhood)
อาจารย์ผู้สอน: ด. ร. จินตนา สุขสำราญ (อาจารย์ประจำหลักสูตร)
ประจำวันที่: พุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560 เวลา 08.30 – 12.30

กลุ่มเรียน 101

ความรู้ที่ได้รับ

1.ความหมายของ "คณิตศาสตร์"        
           คณิตศาสตร์ หมายถึง เป็นศาสตร์วิชาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขและการคำนวณ เป็นวิชาที่มีสำคัญในชีวิตประจำวันของทุกคน ทุกอาชีพล้วนมีคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องในการทำงานทั้งสิ้น เด็กปฐมวัยจึงจำเป็นต้องเรียนวิชาคณิตศาสตร์เพราะเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้วิชาอื่นๆต่อไป

2. ความสำคัญของ "คณิตศาสตร์"
           คณิตศาตร์เป็นวิชาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการคิดและการพิสูจน์อย่างมีเหตุผล เป็นภาษาสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่ใช้สื่อความหมายได้อย่างรัดกุมและถูกต้อง นอกจากนี้ยังสามารถฝึกให้เป็นคนมีเหตุผล มีปฏิภาณไหวพริบ มีการทำงานเป็นระบบระเบียบอย่างเป็นขั้นตอน และเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของทุกคนอีกด้วย

3. ประโยชน์ของ "คณิตศาสตร์"         
            - เด็กสามารถจำแนกสิ่งของออกเป็นหมวดหมู่ เช่น ขนาด ปริมาณ รูปทรง เป็นต้น
            - นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การซื้อ-การขายสินค้า การบอกเวลา การนับจำนวน เป็นต้น
            - สามารถนำไปจัดเกมการศึกษา เช่น การจับคู่ภาพกับจำนวน เป็นต้น

4. ทักษะพื้นฐานทาง " คณิตศาสตร์ "
     ตัวอย่างเช่น
          - การนับ
          - การคำนวณ
          - เรขาคณิต
          - การเรียงลำดับ
         - การเปรียบเทียบ
         - การตวงวัด
         - การจัดกลุ่ม
         - เวลา
         - แบบรูป

5. สาระของคณิตศาสตร์ที่เด็กปฐมวัยควรเรียนรู้
           1. จำนวนและการดำเนินการ
            2. การวัด
            3. เรขาคณิต
            4. พีชคณิต
            5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น



ประเมินตนเอง            
            ตั้งใจเรียน ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย อาจจะมีบ้างที่ไม่เข้าใจในเนื้อหาที่เรียน
 ประเมินเพื่อน           
            ให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย มีความกระตือรือล้นในการเรียน ร่วมกันแสดงความคิดเห็นและตอบคำถาม
 ประเมินอาจารย์ผู้สอน             
             การแต่งกายเรียบร้อย มีน้ำเสียงสูงต่ำตามจังหวะ สอนเข้าใจง่าย แต่มีบางครั้งที่สั่งงานแล้วนักศึกษาไม่ค่อยเข้าใจ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น