วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่: 3

บันทึกการเรียนครั้งที่: 3
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Mathematic Experiences Management for Early Childhood)
อาจารย์ผู้สอน: ด. ร. จินตนา สุขสำราญ (อาจารย์ประจำหลักสูตร)
ประจำวันที่: พุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2560 เวลา 08.30 – 12.30
กลุ่มเรียน 101

ความรู้ที่ได้รับ

ความหมายและประโยชน์ของพัฒนาการ
         
          พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง แต่ละระดับอาจจะไม่เท่ากัน ที่สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถของเด็กว่าทำอะไรได้บ้างในแต่ละช่วงอายุของเด็ก
          ประโยชน์
              - ทำให้รู้ถึงความสามารถของเด็ก
              - รู้ถึงความแตกต่างของเด็ก
              - จัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก


ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก

        - ทฤษฎีทางสติปัญญาของเพียเจต์    เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
        - ทฤษฎีทางสติปัญญาของบรูเนอร์      สร้างภาพตามจินตนาการ
        - ทฤษฎีทางสติปัญญาของไวกอตซกี้  ต้องมีทักษะทางสังคม

พัฒนาการสัมพันธ์กับสมองอย่างไร
            สมองเป็นเครื่องมือ รับ ส่ง ควบคุม กำกับ ที่ส่งผลให้มีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย
การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม โดยไม่มีที่สิ้นสุด

ประโยชน์ของการเรียนรู้         
           เพื่อให้เราอยู่รอด ( การปรับตัวและมีชีวิตอยู่ในสังคมและโลกได้อย่างมีความสุข)

เด็กปฐมวัยเรียนรู้โดยวิธีใด
           ลงมือกระทำโดยอิสระ มีความสุข คิดเอง ทำเอง เกิดความสนุกสนานและเกิดการเรียนรู้ ที่เรียกว่า การเล่น

หลักการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์
            - ใช้รูปธรรม โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
            - ใช้สื่อที่น่าสนใจ
            - เด็กมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ เด็กได้ลงมือกระทำ ได้ใช้ความคิด มีสังคมและการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
             - ใช้เวลานาน เพราะ เด็กจะเบื่อง่ายตามพัฒนาการของเขา


ประเมินตนเอง
               มีความรู้ความเข้าในเรื่องที่เรียน เข้าใจในเนื้อหา
 ประเมินเพื่อน             
               ตั้งใจเรียน ช่วยกันระดมความคิด แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์             
               อาจารย์เปิดโอกาสให้เด็กระดมความคิดในการช่วยกันตอบคำถามภายในห้องเรียน ใช้เทคนิคในการเรียนการสอนที่น่าสนใจ





บันทึกการเรียนครั้งที่: 15

บันทึกการเรียนครั้งที่: 15
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Mathematic Experiences Management for Early Childhood)
อาจารย์ผู้สอน: ด. ร. จินตนา สุขสำราญ (อาจารย์ประจำหลักสูตร)
ประจำวันที่: พุธที่ 03 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 เวลา 08.3012.30
กลุ่มเรียน 101
อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มส่งงานบอร์ดปฏิทินและนำเสนอสื่อซึ่งเป็นเกมที่บูรณาการด้านคณิตศาสตร์ของแต่ละกลุ่มหน้าชั้นเรียน พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงสื่อและการใช้สื่ออย่างคุ้มค่า ท้ายคาบอาจารย์ได้แนะแนวข้อสอบและทบทวนความรู้ ซึ่งจะมีการสอบในวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ.2560 เวลา 15.00 - 17.00 น. และปิดคอร์สการเรียน

บอร์ดปฏิทิน





สื่อ
วงกลมนับเลข


ประเมินตนเอง
            ตั้งใจเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
ประเมินเพื่อน
              เพื่อนพูดคุยกันขณะที่อาจารย์กำลังสอน แต่ทุกกลุ่มและทุกคนให้ความร่วมมือดี

ประเมินอาจารย์

          อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย พูดชัดถ้อยชัดคำ ให้คำชี้แนะแก่นักศึกษาได้อย่างชัดเจน



บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

บันทึกการเรียนครั้งที่: 14
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Mathematic Experiences Management for Early Childhood)
อาจารย์ผู้สอน: ด. ร. จินตนา สุขสำราญ (อาจารย์ประจำหลักสูตร)
ประจำวันที่: พุธที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2560 เวลา 08.3012.30

กลุ่มเรียน 101

  วันนี้เป็นการให้แต่ละกลุ่มนำเสนอแผนการสอนในหน่วยต่างๆ รวมทั้งต้องลองสอนให้ดูหน้าชั้นเรียน โดยแต่ละกลุ่มจะต้องแบ่งว่ากลุ่มไหนจะได้สอนวันไหนในวันจันทร์ - วันศุกร์และให้คนที่เขียนแผนในวันเดียวกับเพื่อนที่สาธิตการสอนหน้าชั้น ดูวิธีการของเพื่อนเป็นตัวอย่าง  โดยแบ่ง ดังนี้

กลุ่มที่ 1 หน่วย กระเป๋า
วันจันทร์ เรื่อง ชนิดของกระเป๋า
คำคล้องจองกระเป๋า





กลุ่มที่ 2 หน่วย บ้าน
วันอังคาร เรื่อง ลักษณะของบ้าน
เล่านิทานลูกหมูสามตัว



กลุ่มที่ 3 หน่วย ยานพาหนะ
วันพุธ เรื่อง การดูแลรักษา
กิจกรรมภาพปริศนา



กลุ่มที่ 4 หน่วย กระต่าย
วันพฤหัสบดี เรื่อง ประโยชน์ของกระต่าย




กลุ่มที่ 5 หน่วย เสื้อ
วันศุกร์ เรื่อง ข้อควรระวัง



ประเมินตนเอง
        มีการเตรียมความพร้อม ในเรื่องของสื่อและแผนที่ ดี
ประเมินเพื่อน
        เพื่อนแต่ละกลุ่มมีการเตรียมความพร้อม สื่อ อุปกรณ์ประกอบการสอนเป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์
         อาจารย์ชี้แจงถึงข้อผิดพลาดที่ควรแก้ไข และเปิดโอกาสให้ถามข้อสงสัยในวิธีการสอนและอื่นๆ 




บันทึกการเรียนครั้งที่: 13

บันทึกการเรียนครั้งที่: 13
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Mathematic Experiences Management for Early Childhood)
อาจารย์ผู้สอน: ด. ร. จินตนา สุขสำราญ (อาจารย์ประจำหลักสูตร)
ประจำวันที่: พุธที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2560 เวลา 08.3012.30

กลุ่มเรียน 101

               วันนี้อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาที่ยังไม่ได้นำเสนองานวิจัย บทความ วีดิโอแนวทางการสอน และสื่อการสอนของแต่ละคนซึ่งมีลักษณะเป็นเกมการศึกษาที่บูรณาการเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ จากนั้นให้นักศึกษาตอบคำถามลงในกระดาษเกี่ยวกับกรอบมาตรฐานทางคณิตศาสตร์ในเรื่องของการนับ การแยกจำนวนออกจากกลุ่มใหญ่ การรวมจำนวนจากกลุ่มย่อยเป็นกลุ่มใหญ่ และการเปรียบเทียบมากกว่าน้อยกว่า ว่าในแต่ละเนื้อหาเราจะจัดการสอนอย่างไร จากนั้นอาจารย์ได้ตรวจสอบวิธีในการสอนของนักศึกษาแต่ละคน โดยอาจารย์ได้ให้คำแนะนำและอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับรูปแบบในการสอน

บันทึกการเรียนครั้งที่: 11

บันทึกการเรียนครั้งที่: 11
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Mathematic Experiences Management for Early Childhood)
อาจารย์ผู้สอน: ด. ร. จินตนา สุขสำราญ (อาจารย์ประจำหลักสูตร)
ประจำวันที่: พุธที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2560 เวลา 08.3012.30
กลุ่มเรียน 101 

ความรู้ที่ได้รับ
  1.        หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย คือ แนวทางในการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย ร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา เพื่อพัฒนาเด็กให้เป็นคนดี คนเก่ง มีศักยภาพ มีความสุข
      สาระที่ควรเรียนรู้
            1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
            2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
            3. ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
            4. สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก

2. พัฒนาการทั้ง  4 ด้าน  คือ
          1. ด้านร่างกาย
          2. ด้านอารมณ์จิตใจ
          3. ด้านสังคม
          4. ด้านสติปัญญา
3. บูรณาการกับกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม
          1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
          2. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
          3. กิจกรรมเสรี
          4. กิจกรรมกลางแจ้ง
          5. กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
          6. กิจกรรมเกมการศึกษา
   
เทคนิคและวิธีการสอน
         - นิทาน
         - เพลง
         - เกม
         - คำคล้องจอง
         - สืออื่นๆ

การเลือกสื่อในการจัดการเรียนการสอน
        -  เลือกสื่อที่มีอยู่ในท้องที่ หรือ ฤดูกาลนั้น เช่น ผลไม้
        -  ใช้สื่อที่เป็นของจริง
        -  เป็นสิ่งใกล้ตัวเด็ก
        - สื่อที่ใช้ต้องเป็นเกณฑ์เดียว เช่น สีแดงก็ต้องสีแดงเท่านั้น
        - สื่อที่เป็นเกมการศึกษา
     
        1. จับคู่



        2. จิ๊กซอว์



       
        3. โดมิโน่



        4. เกมพื้นฐานการบวก

     

          5. เกมความสัมพันธ์สองแกน


          6. เกมเรียงลำดับ
          7. เกมการศึกษารายละเอียดของภาพ


การจัดการเรียนการสอนจะต้อง 3 ขั้น คือ
1. ขั้นนำ
2. ขั้นสอน
3. ขั้นสรุป


การจัดประสบการณ์ให้เด็ก-  จากคุณครู
-  จากพ่อแม่ ผู้ปกครองโดยการสานสัมพันธ์ครอบครัว


วิธีการประเมิน1. สังเกต  เครื่องมือ คือ แบบบันทึก
2. สนทนา สอบถาม   เครื่องมือ คือ แบบบันทึก
3, ชิ้นงาน เครื่องมือ คือ แบบประเมิน




ประเมินตนเอง
        ตั้งใจเรียน นำเสนองานติดขัดบ้าง ตอบคำถามได้บ้างไม่ได้บ้าง
ประเมินเพื่อน
           พื่อนที่มาเรียนก็ตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถามและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์
          มีเทคนิคการสอนที่ดี พูดเสริมแรงให้นักศึกษาเกิดความรู้และเกิดทักษะใหม่ๆ



บันทึกการเรียนครั้งที่: 10

บันทึกการเรียนครั้งที่: 10
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Mathematic Experiences Management for Early Childhood)
อาจารย์ผู้สอน: ด. ร. จินตนา สุขสำราญ (อาจารย์ประจำหลักสูตร)
ประจำวันที่: พุธที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2560 เวลา 08.3012.30

กลุ่มเรียน 101


ในคาบเรียนนี้ อาจารย์ติดภารกิจจึงได้มอบหมายให้ทำงานกลุ่ม คือ ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มช่วยกันทำป้ายปฏิทินเพื่อใช้เป็นสื่อไว้ใช้ในห้องเรียน



บันทึกการเรียนครั้งที่: 9

บันทึกการเรียนครั้งที่: 9
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Mathematic Experiences Management for Early Childhood)
อาจารย์ผู้สอน: ด. ร. จินตนา สุขสำราญ (อาจารย์ประจำหลักสูตร)
ประจำวันที่: พุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560 เวลา 08.3012.30

กลุ่มเรียน 101


อาจารย์ให้วางแผน แผนการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์

        ในการสอนในระดับชั้นปฐมวัยนั้นเป็นการสอนแบบจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้อย่างมีจุดมุ่งหมายผ่านการเล่นและกิจกรรมต่างๆ แน่นอนว่าในแต่ละวันนั้นเด็กจะเรียนเป็นหน่วยการเรียนรู้และผ่านกิจกรรม 6 หลัก ซึ่งหน่วยการเรียนรู้นั้นก็จะเป็นเรื่องๆ ไป โดยเรื่องที่สอนต้องอยู่รอบตัวเด็ก บุคคล สถานที่ ฯลฯ
          ในที่นี้เราจะไม่ได้ให้ความรู้ในเรื่องของการเขียนแผนการเรียน แต่เราจะให้ความรู้ในการเลือกเรื่อง การวางหัวข้อหรือเนื้อหาที่จะนำไปสู่เด็ก เพราะก่อนจะเขียนแผนการสอนได้นั้นเราควรต้องกำหนดหรือวางแผนก่อนว่าจะเสริมประสบการณ์เด็กเรื่องอะไร โดยเรื่องที่จะสอนเด็กคือ กลุ่มเราเลือกเรื่อง "ยานพาหนะ" ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้


ยานพาหนะ

May Map แสดงเนื้อหาส่วนต่างต่าง หน่วย ยานพาหนะ

 
             เมื่อเราวางแผนได้ตามนี้แล้ว อาจารย์ให้ทำขั้นตอนต่อไปคือการเขียนแผนและจัดประสบการณ์ผ่าน 6 กิจกรรมหลัก และลงรายละเอียดในแต่ละวันตามหัวข้อที่กำหนด


ประเมินตนเอง
        ตั้งใจเรียน นำเสนองานติดขัดบ้าง ตอบคำถามได้บ้างไม่ได้บ้าง
 ประเมินเพื่อน
         เพื่อนที่มาเรียนก็ตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถามและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
 ประเมินอาจารย์
          มีเทคนิคการสอนที่ดี พูดเสริมแรงให้นักศึกษาเกิดความรู้และเกิดทักษะใหม่ๆ